วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

เกาะปายัง

เกาะหูหยง


เกาะห้า


ปัญหาและการอนุรักษ์

พื้นที่บริเวณโดยรอบของเกาะหนึ่ง สอง และสาม หรือ เกาะหูยง เกาะปายัง และเกาะปาหยันได้ถูกสงวนให้เป็นพื้นที่วางไข่ของเต่าทะเล และห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นเกาะโดยเด็ดขาด นอกจากนี้แล้วในปี พ.ศ. 2543 ทางกรมป่าไม้ในขณะนั้นได้สั่งปิดกองหินแฟนตาซ ซึ่งเป็นกองหินที่เคยสวยงามติดอันดับหนึ่งในสิบของโลกลง เนื่องจากสภาพของกองหินที่ทรุดโทรมลงอย่างมาก จากปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไป
นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญของหมู่เกาะสิมิลันอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาการลักลอบจับปลาอย่างผิดกฎหมายจากจากชาวประมงในพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณเกาะบอน และเกาะตาชัยที่พบปัญหาการระเบิดปลาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักของปัญหานี้ คือ ความห่างไกลของเกาะทั้งสองทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง
ในปี พ.ศ. 2550 ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ประกาศจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลัน

สิ่งที่น่าสนใจ

เกาะสิมิลัน เกาะแปด 

เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีหาดทรายขาวละเอียด ใต้ทะเลมีปะการังหลายชนิด เป็นเกาะที่สามารถดำทั้งน้ำลึกและน้ำตื้น ด้านเหนือของเกาะมีหินขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายรองเท้าบู๊ต ถัดมาเป็นหินเรือใบ

เกาะบางู เกาะเก้า 

เป็นเกาะเล็กๆ กองหินคริสต์มาสพอยต์ เป็นกองหินใต้น้ำขนาดใหญ่ มีความสวยงาม

เกาะหัวกะโหลก หินปูซา เกาะเจ็ด 

มีลักษณะคล้ายหัวกะโหลก มีหุบเขาใต้น้ำ สามารถพบปะการังอ่อน กัลปังหา สามรถพบปลากระเบนราหู และปลาฉลามวาฬได้มากที่สุดในอุทยาน

เกาะเมี่ยง เกาะสี่ 

เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ (มส.1) มีสัตว์ที่หายาก เช่น ปูไก่

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี (ที่ทำการอุทยาน ตั้งอยู่ที่ ตำบลลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง) ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า สิมิลัน เป็นภาษายาวี หรือ มลายู แปลว่า เก้า หมู่เกาะสิมิลันเป็นหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลอันดามัน มี 9 เกาะ เรียงจากเหนือ มา ใต้ คือ เกาะหูยง เกาะปายัง เกาะปาหยัน เกาะเมี่ยง เกาะปายู เกาะหัวกะโหลก เกาะสิมิลัน และเกาะบางู หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเร่(moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ

ลักษณะภูมิอากาศ

ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม - เดือนตุลาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 27 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ปริมาณน้ำฝนแต่ละปีเฉลี่ย 3,560 มิลลิเมตร ปริมาณการระเหยของน้ำแต่ละปีเฉลี่ย 1,708 มิลลิเมตร ช่วงฤดูฝนเป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากจะทำให้ฝนตกหนักแล้ว ท้องทะเลยังมีคลื่นลมแรง ทำให้การเดินทางไปท่องเที่ยวที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันในช่วงนี้ไม่ปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว ทางอุทยานฯ จึงกำหนดปิด-เปิดฤดูการท่องเที่ยวขึ้น

ลักษณะภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ประกอบด้วยพื้นดินที่เป็นเกาะต่างๆ เขาหินแกรนิตสูงชัน หาดทราย โขดหิน ลักษณะรูปร่างต่างๆ ชายฝั่งของเกาะต่างๆ มีลักษณะเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ เนื่องจากตั้งอยู่ในส่วนทะเลนอก ได้รับอิทธิพลจากการกัดเซาะของคลื่นทะเลโดยตรง เรียงตัวตามแนวทิศเหนือใต้ พื้นน้ำเป็นส่วนหนึ่งของทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดียตะวันออก บริเวณไหล่ทวีปติดชายฝั่งตะวันตกของจังหวัดพังงาและประเทศพม่า คู่ขนานกับแนวเกาะนิโคบาร์ ที่เป็นไหล่ทวีปของประเทศอินเดีย ตามชายหาดหรือสันทรายจะไม่มีดินเลนให้เห็นจึงเป็นชายหาดที่ขาวสะอาด สวยงาม อนุภาค ทรายมีขนาดเล็กละเอียด ส่วนที่เป็นยอดเขาจะเป็นเขาโดดสูงชัน ยอดเขาสูงสุดมีความสูง 244 เมตร จากระดับน้ำทะเล บางเกาะมีลักษณะแบนราบล้อมรอบด้วยเนินทรายและแนวปะการัง

สถานที่ท่องเที่ยวของไทย

ข้อมูลทั่วไป
หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะกลางทะเลอันดามันที่เป็นเลิศในความงามของปะการังแห่งหนึ่งของโลก “สิมิลัน” เป็นภาษายาวีหรือมลายู แปลว่า “เก้า” ชาวประมงบางคนจึงเรียกว่า หมู่เกาะเก้า ประกอบด้วย เกาะใหญ่น้อย 9 เกาะด้วยกัน เรียงตัวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันประกอบด้วย เกาะบอน เกาะบางู เกาะสิมิลัน เกาะปายู เกาะห้า เกาะเมียง เกาะปาหยัน เกาะปายัง และเกาะหูยง หมู่เกาะสิมิลัน เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และในปี 2541 ได้ผนวกรวมเกาะตาชัย ทำให้มีพื้นที่ทั้งหมด 140 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2524 คณะสำรวจหมู่เกาะสิมิลันซึ่งประกอบด้วย Mr. Jeferey A. Sayer ผู้เชี่ยวชาญด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่าของ FAO (ขณะนั้นช่วยงานด้านอุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า กรมป่าไม้) ดร.เต็ม สมิตินันท์ ผู้เชี่ยวชาญกรมป่าไม้ นายสุวัช สิงหพันธุ์ เจ้าหน้าที่กองอุทยานแห่งชาติ และคณะสำรวจของนายประพันธ์ ผลเสวก แห่งนิตยสารเพื่อนเดินทาง ได้เสนอความคิดเห็นต่อกองอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2524 ว่า บริเวณหมู่เกาะสิมิลันมีสภาพธรรมชาติและทิวทัศน์ทางทะเลสวยงามยิ่ง สภาพแวดล้อมบนเกาะต่างๆ สมบูรณ์ มีพรรณพืชและสัตว์ที่น่าสนใจหลายชนิด สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยหน้าผา โขดหินรูปร่างแปลกตา มีหาดทรายขาวบริสุทธิ์ และใต้ท้องทะเลอุดมสมบูรณ์ด้วยปะการังหลากสีหลายชนิดและอยู่ในสภาพสมบูรณ์ที่สุด เหมาะสมที่จะสงวนรักษาไว้เป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2524 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2524 เห็นสมควรให้จัดบริเวณหมู่เกาะเก้าหรือหมู่เกาะสิมิลันเป็นอุทยานแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยให้ชื่อว่า “หมู่เกาะสิมิลัน” ในการประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2525 โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินหมู่เกาะสิมิลัน ในท้องที่ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เนื้อที่ประมาณ 80,000 หรือ 128 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติภายใต้ชื่อว่า “ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ” โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 123 ลงวันที่ 1 กันยายน 2525 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 43 ของประเทศไทย



เกร็ดความรู้เล็ก ๆน้อย ๆจากเรา

เมื่อมองทะเลอาจเห็นว่ามีสีต่างๆ กัน เช่น สีเขียว สีน้ำเงิน ซึ่งบางคนบอกว่าเพราะทะเลมีความลึกต่างกัน หรือเกี่ยวกับสัตว์ทะเลบางชนิดซึ่งสาเหตุที่เรามองเห็นท้องทะเลเป็นสีต่างๆ นั้นเกิดจากสาเหตุใด

ขณะที่เรานั่งอยู่อีกฝั่งจะมองเห็นทะเลเป็นอีกสีหนึ่ง แต่เมื่อเรานั่งเรือออกทะเลน้ำทะเลก็จะกลายเป็นอีกสีหนึ่งโดยเฉพาะเมื่อเราไปเกาะเเก่งต่างๆ เราก็จะเห็นว่า ถ้าเกาะนั้นน้ำลึกก็จะมองเห็นเป็นสีน้ำเงิน พอเข้าใกล้เกาะน้ำทะเลก็จะใส สาเหตุหลักที่ทำให้เป็นเช่นนี้ คือแสงอาทิตย์ ในขณะที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงมายังพื้นโลกจะผ่านกลุ่มเมฆต่างๆ และส่องลงมากระทบกับผิวน้ำ แสงอาทิตย์จะผ่านเข้าไปในน้ำทะเลส่วนหนึ่ง และเเสงส่วนหนึ่งก็จะสะท้อนไปในอากาศ ทำให้เรามองเห็นน้ำทะเลเป็นสีต่างๆ มากมาย ถ้าเรามองในบริเวณที่น้ำตื้นจะ
เห็นน้ำทะเลเป็นสีเขียวเพราะเป็น การสะท้อนแสงจากแพรนดอน ส่วนที่เรามองเห็นน้ำทะเลเป็นสีดำเข้มนั้น เพราะว่าทะเลบริเวณนั้นเป็นทะเลน้ำลึก

เมื่อพูดถึงทะเล บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวคนจมน้ำที่เกิดจากแรงดึงดูดของน้ำใต้ทะเลซึ่งมีความเชื่อว่ามีผีมาดึงให้จมลงไป เรื่องนี้ รศ.
ดร.สุจินต์ อธิบายเพิ่มเติมว่า ความจริงทะเลทั่วโลกจะมีกระเเสน้ำ
กระเเสน้ำแรก คือ longshord current เป็นกระเเสน้ำที่ไหลขนานกับชายฝั่งช่วยพัดพาแร่และทรายต่างๆ กระเเสน้ำที่ 2 เรียกว่า ripcurrent
ดดยมีทิศทางไหลตั้งฉากกับชายฝั่งออกสู่ทะเล เป็นร่องน้ำที่เกิดตาม
ธรรมชาติซึ่งจุดนี้เองเป็นจุดอันตราย ถ้าเราว่ายน้ำอยู่ตรงบริเวณ rip
current กระเเสน้ำก็จะพัดเราสู่ตัวทะเล ถ้าเราว่ายน้ำไม่เก่ง ร่างกายไม่แข่งเเรงหรือเมาก็อาจจะจมน้ำ